วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กศน. ตำบลโพนงาม อำเภอ คำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
ประวัติความเป็นมา กศน.ตำบลโพนงาม
          การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2542 - 2561) ได้ให้ความสำคัญเรื่องการศึกษาและการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารจัดการเพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพ ให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ”
          กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มีโยบายให้มีการจัดตั้ง กศน.ตำบล ขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล เป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับประชาชนเพื่อประชาชนได้ใช้ในการแสวงหาความรู้เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้
          กศน.ตำบลโพนงามได้รับการประกาศจัดตั้งให้เป็น กศน.ตำบล เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552 โดยได้รับการสนับสนุน จากองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ให้ใช้อาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหลังเก่าเป็นที่ทำการและมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2553 โดยมี นายสุจิล มาตราช ตำแหน่งครูศูนย์การเรียนชุมชน และนางสาวรัตนพร เพ็งศรีโคตร ตำแหน่งครูศูนย์การเรียนชุมชน เป็นครูประจำ กศน.ตำบลโพนงามในขณะนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง ให้นายสุจิล มาตราช ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล ไปประจำ กศน.ตำบลโพนงาม ปัจจุบัน นางนิภาภรณ์ ดิสิงห์  หัวหน้า กศน.ตำบลโพนงาม มีนักศึกษาจำนวน  ๖๖ คน ระดับ ประถม ๑๐ คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ๒๐ คน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ๓๖ คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 6๖ คน

ทำเนียบ หัวหน้าครู กศน.ตำบลโพนงาม
1.      นางสาวรัตนพร เพ็งศรีโคตร   ปี 2552 - 2553
2.      นายสุจิล มาตราช            ปี 2553 - 2554
3.      นางนิภาภรณ์ ดิสิงห์        ปี 2555 – ปัจจุบัน
          บุคลากรของ กศน.ตำบลโพนงาม
1.      นางนิภาภรณ์  ดิสิงห์           ตำแหน่ง     หัวหน้า กศน.ตำบล
2.      นางสาวรัตนพร  เพ็งศรีโคตร  ตำแหน่ง  ครู กศน.ตำบล
3.      นางสาวนันทนา  สุขรี่           ตำแหน่ง  ครูศูนย์การเรียนชุมชน

ประวัติศูนย์การเรียนชุมชนบ้านหนองสระพัง
          การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2542 - 2561) ได้ให้ความสำคัญเรื่องการศึกษาและการเรียนรู้โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารจัดการเพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพ ให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ”
          กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มีโยบายให้มีการจัดตั้ง กศน.ตำบล ขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล เป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับประชาชนเพื่อประชาชนได้ใช้ในการแสวงหาความรู้เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้
          ศูนย์การเรียนชุมชนหนองสระพังตั้งอยู่บ้านหนองสระพังหมู่  ตำบลโพนงาม  เป็นศาลาเอนกประสงค์ของหมู่บ้านและมีกลุ่มต่าง ๆ ทำงานอยู่ร่วมกัน เช่นกลุ่มอาชีพพรมเช็ดเท้า กลุ่มลวดหนาม กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เกษตรตำบล กลุ่มออมทรัพย์หมู่บ้าน และ ศูนย์การเรียนชุมชน
          ศูนย์การเรียนชุมชนหนองสระพังก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.257 ครูผู้รับผิดชอบ น.ส.รัตนพร เพ็งศรีโคตร ปัจจุบันมีนักศึกษาจำนวน  6๖ คน ระดับ ประถม ๑ คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ๒๔ คน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ๔๒ คน รวมจำนวนทั้งสิ้น ๖๖ คน



บุคลากรของศูนย์การเรียนชุมชนหนองสระพัง
1.      นางนิภาภรณ์  ดิสิงห์           ตำแหน่ง            หัวหน้า กศน.ตำบล
2.      นางสาวรัตนพร  เพ็งศรีโคตร  ตำแหน่ง  ครู กศน.ตำบล
ประวัติศูนย์การเรียนชุมชนห้องสมุดหลวงตาชี
          การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2542-2561) ได้ให้ความสำคัญเรื่องการศึกษาและการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารจัดการเพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพ ให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ “คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ”
          กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้มีโยบายให้มีการจัดตั้ง กศน.ตำบล ขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล เป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับประชาชนเพื่อประชาชนได้ใช้ในการแสวงหาความรู้เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 นายอังกูร อ้วนพรหมมา ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่จนถึงปัจจุบัน  ในปี  พ.ศ.  2549  พระวิเทศธรรมรังสี (หลวงตาชี) เจ้าอาวาสวัดไทยในกรุงวอชิงตัน ดี ซี ได้บริจาคเงินสร้างอาคารเรียนแบบ 105 (เพิ่มเติมชั้นล่าง)ราคา 2,500,000  บาท (สองล้านห้าแสนบาทถ้วน)แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 31  ตุลาคม  2549  และในปี  2550  ได้บริจาคเงินส่วนตัวสร้างห้องน้ำห้องส้วม  สำหรับใช้ในกิจกรรมในอาคาร 105 สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่  30  มิถุนายน  2552
          ปัจจุบันโรงเรียนบ้านโพนงาม  มีอาคารสถานที่ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้จัดกิจกรรมสำหรับพัฒนาการศึกษาในเขตบริการอย่าง
          ศูนย์การเรียนชุมชนห้องสมุดหลวงตาชี จัดตั้งขึ้นเมื่อ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.25๕๗  ครูผู้รับผิดชอบ น.ส.นันทนา สุขรี่ ปัจจุบันมีนักศึกษาจำนวน  ๖๖ คน ระดับ ประถม ๑ คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ๔๐ คน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ๒๕ คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 6๖ คน
         
บุคลากรของศูนย์การเรียนชุมชนห้องสมุดหลวงตาชี
1.      นางนิภาภรณ์  ดิสิงห์        ตำแหน่ง   หัวหน้า กศน.ตำบล
2.      นางสาวนันทนา  สุขรี่       ตำแหน่งครูศูนย์การเรียนชุมชน

 กศน.ตำบล หมายถึง หน่วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่ตั้งอยู่ในระดับตำบล/แขวง
หลักการ
          หลักการทำงาน กศน.ตำบล ยึดชุมชนเป็นฐานในการทำงานและการเรียนรู้ โดยใช้ต้นทุนของชุมชน เช่น อาคาร สถานที่ แหล่งวิทยาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี มีการประสานเครือข่ายในชุมชนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนในชุมชน/สังคม เข้ามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่าย ในการดำเนินการจัดกิจกรรม กศน.ตำบล ทั้งในฐานะผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา บูรณาการกระบวนการเรียนรู้ และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ของผู้เรียนและชุมชน มีคณะกรรมการ กศน.ตำบล เป็นคนในชุมชนให้การส่งเสริมสนับสนุน ติดตามดูแลและร่วมประเมินผลการดำเนินงาน กศน.ตำบล

วัตถุประสงค์
          กศน.ตำบล จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1)        เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ        
2)        เพื่อสร้างและขยายภาคีเครือข่ายในการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
3)        เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่าย
4)        เพื่อประสานและเชื่อมโยงการดำเนินงานจัดการศึกษาร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน